รายละเอียดการแข่งขัน

รายละเอียดการแข่งขัน

ประเภทการแข่งขัน
การแข่งขันแบ่งออกเป็นประเภทและระดับต่าง ๆ ดังนี้
ประเภท A เดี่ยวเครื่องดนตรีล้านนา
  • ระดับ A1 ประถมศึกษา
  • ระดับ A2 มัธยมศึกษา
  • ระดับ A3 อุดมศึกษา
  • ระดับ A4 ประชาชนทั่วไป
ประเภท B ขับร้อง (เพลงคำเมือง)
  • ระดับ B1 ประถมศึกษา
  • ระดับ B2 มัธยมศึกษา
  • ระดับ B3 อุดมศึกษา
  • ระดับ B4 ประชาชนทั่วไป
ประเภท C วงดนตรีล้านนา (Open)
  • ประเภทย่อย C1 วงปี่พาทย์ล้านนา
  • ประเภทย่อย C2 วงดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง)
ประเภท D วงดนตรีล้านนาร่วมสมัย (Open)
ประเภท E บทประพันธ์เพลงล้านนา (Open)
นิยาม
  • การเดี่ยวเครื่องดนตรีล้านนา หมายถึง การบรรเลงเครื่องดนตรีล้านนาประเภทที่กำหนด โดยใช้เพลงล้านนาที่กำหนดเป็นเพลงในการบรรเลงในการประกวด
  • ขับร้อง หมายถึง การขับร้องบทเพลง “คำเมือง” รูปแบบใดก็ได้ เช่น ลูกทุ่งคำเมือง โฟล์คซองคำเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ การขับร้องไม่ครอบคลุมเพลงพูดลูกทุ่งคำเมือง การอื่อ การจ๊อย การซอ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเพลงคำเมือง
  • วงดนตรีล้านนา หมายถึง วงปี่พาทย์ล้านนา และ วงดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) ทั้งสองประเภทประกอบด้วยเครื่องดนตรีพื้นเมือง และบรรเลงเพลงล้านนาตามที่กำหนด
  • วงดนตรีล้านนาร่วมสมัย หมายถึง วงดนตรีที่สะท้อนให้เห็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมดนตรี หรือ พัฒนารูปแบบวงดนตรี/การบรรเลงดนตรีที่แตกต่างออกไปจากวงดนตรีแบบดั้งเดิม วงดนตรีล้านนาร่วมสมัยอาจใช้เพลงล้านนาในการบรรเลงหรือไม่ก็ได้ บทเพลงอาจประพันธ์ หรือ เรียบเรียงเสียงประสาน หรือ สร้างทางเพลงขึ้นมาใหม่
  • บทประพันธ์เพลงล้านนา หมายถึง บทประพันธ์ที่ใช้วัตถุดิบจากวัฒนธรรมดนตรีล้านนามาเป็นแกนในการสร้างสรรค์ วัตถุดิบดังกล่าว เช่น ทำนอง จังหวะ กลุ่มเสียง คุณลักษณะของเสียง เป็นต้น บทประพันธ์อาจสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการบรรเลง หรือ การร้องก็ได้
รูปแบบการประกวด
  1. รอบคัดเลือก การคัดเลือกผู้เข้าประกวดจากผลงานบันทึกคลิปวิดีโอ (Clip VDO) ในรูปแบบ File Video (ประเภท A B C และ D) และคัดเลือกผลงานประเภท D บทประพันธ์เพลงล้านนา จากโน้ตเพลง (Music Score)
    ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบ 4 กุมภาพันธ์ 2565
  2. รอบตัดสิน ผู้ผ่านเข้ารอบการประกวดประเภท A B C และ D ต้องทำการแสดงจริงต่อหน้าคณะกรรมการ ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2565 (ตารางการแข่งขันประกาศพร้อมการประกาศผู้เข้ารอบ)
เกณฑ์การประกวดและเกณฑ์การสมัคร

ประเภท A เดี่ยวเครื่องดนตรีล้านนา

การประกวด
ใช้เครื่องดนตรีล้านนาต่อไปนี้ ซึง สะล้อ ขลุ่ย ปี่แน ปี่จุม พิณเปี๊ยะ โดยเลือกเพลงจากรายการต่อไปนี้ 1 เพลง ได้แก่ เพลงตั้งเชียงใหม่ เพลงปราสาทไหว เพลงจะปุ เพลงละม้าย เพลงผีมดกินน้ำมะพร้าว เพลงมอญ เพลงแม่ดำโปน เพลงพระลอ เพลงล่องน่าน เพลงด่าดน่าน หรือเพลงแห่ (เชียงแสนหลวง)
คุณสมบัติผู้สมัคร
1) เกณฑ์อายุ
   • ระดับ A1 ประถมศึกษา เป็นผู้ศึกษาในระดับประถมศึกษา
     อายุ ไม่เกิน 13 ปี ณ วันสมัคร
   • ระดับ A2 มัธยมศึกษา เป็นผู้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
     อายุไม่เกิน 18 ปี ณ วันสมัคร
   • ระดับ A3 อุดมศึกษา เป็นผู้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
     อายุไม่เกิน 23 ปี ณ วันสมัคร
   • ระดับ A4 ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอายุ
2) ผู้สมัครเลือกสมัครแข่งขันประเภทเดี่ยวเครื่องดนตรีได้เพียงประเภทเดียว


ประเภท B ขับร้อง (เพลงคำเมือง)

การประกวด
   • ขับร้องเพลงคำเมืองประเภทลูกทุ่งคำเมือง (ยกเว้นเพลงพูดลูกทุ่งคำเมือง) หรือ โฟล์คซองคำเมือง
   • ความยาวของบทเพลงไม่เกิน 5 นาที
   • ผู้เข้าประกวดต้องเตรียมเพลงประกอบ (Backing track) ด้วยตนเองหรือมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ ไม่เกิน 2 ชิ้น ทั้งนี้ เครื่องดนตรีไม่มีผลต่อการให้คะแนน
คุณสมบัติผู้สมัคร
1) เกณฑ์อายุ
   • ระดับ B1 ประถมศึกษา เป็นผู้ศึกษาในระดับประถมศึกษา
     อายุไม่เกิน 13 ปี ณ วันสมัคร
   • ระดับ B2 มัธยมศึกษา เป็นผู้ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
     อายุไม่เกิน 18 ปี ณ วันสมัคร
   • ระดับ B3 อุดมศึกษา เป็นผู้ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
     อายุไม่เกิน 23 ปี ณ วันสมัคร
   • ระดับ B4 ประชาชนทั่วไป
2) ผู้สมัครเลือกสมัครแข่งขันประเภทขับร้องได้เพียงประเภทเดียว

ประเภท C วงดนตรีล้านนา
(Open / ไม่จำกัดอายุ)

การประกวดประเภทวงปี่พาทย์ล้านนา
1) เป็นวงปี่พาทย์ล้านนา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
   • พาทย์ไม้ ได้แก่ระนาดเอก จำนวน 1 ราง และ
     ระนาดทุ้ม จำนวน 1 ราง
   • พาทย์ฆ้อง (ฆ้องวงใหญ่) จำนวน 1 วง
   • แนหน้อย จำนวน 1 เลา
   • แนหลวง จำนวน 1 เลา
   • กลองป่งป้งและกลองเต่งถิ้ง
   • เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ
   • เครื่องดนตรีเพิ่มเติม (ถ้ามี) ได้แก่ พาทย์เหล็ก
     (ระนาดเหล็ก) จำนวน 1 ราง ไม้เหิบ
2) ใช้เพลงในพิธีกรรมจำนวน 2 เพลง โดยเลือกเพลง
     ในวัฒนธรรมดนตรีล้านนาใดก็ได้

การประกวดประเภทวงดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง)
1) เป็นวงดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
   • สะล้อ ไม่เกิน 3 ชิ้น (สะล้อกลม สะล้อก๊อบ)
   • ซึง หรือปิน ไม่เกิน 3 ชิ้น
   • ขลุ่ยพื้นเมือง 1 เลา
   • กลองพื้นเมือง (กลองโป่งป้ง) 1 ลูก
   • เครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่
2) ใช้เพลงพื้นเมืองตามความถนัด 2 เพลง

คุณสมบัติผู้สมัคร
การประกวดวงดนตรีประเภท (C1) และ (C2) ไม่จำกัดอายุ

ประเภท D วงดนตรีล้านนาร่วมสมัย
(Open / ไม่จำกัดอายุ)

การประกวด
1) เป็นวงดนตรีล้านนาร่วมสมัยที่ผ่านการพัฒนาบทเพลง
     หรือ พัฒนารูปแบบการบรรเลง หรือ พัฒนารูปแบบวง
     ดนตรี หรือ วงดนตรีที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรม
     ดนตรีล้านนากับวัฒนธรรมดนตรีอื่น
2) ส่งผลงานสมบูรณ์เป็นโน้ตแบบสากล
3) มีเนื้อร้องหรือไม่มีก็ได้

คุณสมบัติผู้สมัคร
1) เป็นวงดนตรีล้านนาร่วมสมัย ไม่จำกัดอายุ


ประเภท E บทประพันธ์ดนตรี
(Open / ไม่จำกัดอายุ)

การประกวด
1) เป็นบทประพันธ์ดนตรีที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมล้านนา
2) มีความยาว 3-7 นาที

คุณสมบัติผู้สมัคร
1) เป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลมาก่อน
2) ไม่จำกัดอายุผู้ส่งผลงาน

เกณฑ์การตัดสิน
ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
ประเภท A เดี่ยวเครื่องดนตรีล้านนา
คะแนน 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
กลวิธีการบรรเลง 40 คะแนน
กลวิธีการบรรเลง 40 คะแนน
สุนทรียรสทางดนตรี 30 คะแนน
ความถูกต้องและครบถ้วนของบทเพลง 10 คะแนน
การเลือกเพลงตามกติกา 10 คะแนน
มารยาทและการแต่งกาย 10 คะแนน

ประเภท B ขับร้อง (เพลงคำเมือง)
คะแนน 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
สุนทรียรสทางการขับร้อง 50 คะแนน
กลวิธีการขับร้อง 30 คะแนน
การเลือกเพลงตามกติกา 10 คะแนน
มารยาทและการแต่งกาย 10 คะแนน
ประเภท C วงดนตรีล้านนา (Open)
ประเภทย่อย C1 วงปี่พาทย์ล้านนา คะแนน 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
สุนทรียรสทางดนตรี 40 คะแนน
กลวิธีในการบรรเลง 30 คะแนน
ความถูกต้อง ครบถ้วนของบทเพลง และความพร้อมเพรียงในการบรรเลง 10 คะแนน
การเลือกเพลงตามกติกา 10 คะแนน
มารยาทและการแต่งกาย 10 คะแนน

ประเภทย่อย C2 วงดนตรีพื้นเมือง (สะล้อ ซอ ซึง) คะแนน 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
สุนทรียรสทางดนตรี 40 คะแนน
กลวิธีในการบรรเลง 30 คะแนน
ความถูกต้อง ครบถ้วนของบทเพลง และความพร้อมเพรียงในการบรรเลง 10 คะแนน
การเลือกเพลงตามกติกา 10 คะแนน
มารยาทและการแต่งกาย 10 คะแนน
ประเภท D วงดนตรีล้านนาร่วมสมัย (Open/ไม่จำกัดอายุ)
คะแนน 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
แนวคิดและการสร้างสรรค์ทางดนตรี 50 คะแนน
สุนทรียรสทางดนตรี 40 คะแนน
มารยาทและการแต่งกาย 10 คะแนน

ประเภท E บทประพันธ์เพลงล้านนา (Open/ ไม่จำกัดอายุ)
คะแนน 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
ความคิดสร้างสรรค์ 50 คะแนน
สุนทรียรสทางดนตรี 50 คะแนน
เกณฑ์การให้รางวัล
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนนสูงสุดในอันดับที่ 1 ได้รางวัลชนะเลิศ เป็นเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนนรองในอันดับที่ 2 ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เป็นเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนนรองในอันดับที่ 3 ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เป็นเงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนน 80 คะแนนขึ้นไป ได้รับเหรียญทองพร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนน 65 – 79 คะแนนขึ้นไป ได้รับเหรียญเงินพร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนน 50 - 64 คะแนนขึ้นไป ได้รับเหรียญทองแดงพร้อมเกียรติบัตร
  • ผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ได้รับเกียรติบัตร
รางวัล
ประเภท A เดี่ยวเครื่องดนตรีล้านนา
ประเภท A1 ระดับประถมศึกษา
ชนะเลิศ 3,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 2,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 1,000 บาท

ประเภท A2 ระดับมัธยมศึกษา และ ประเภท A3
ระดับอุดมศึกษา
ชนะเลิศ 5,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 3,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 2,000 บาท

ประเภท A4 ระดับประชาชนทั่วไป
ชนะเลิศ 8,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 5,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 3,000 บาท
ประเภท B ขับร้อง (เพลงคำเมือง)
ประเภท B1 ระดับประถมศึกษา
ชนะเลิศ 3,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 2,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 1,000 บาท

ประเภท B2 ระดับมัธยมศึกษา และ ประเภท B3
ระดับอุดมศึกษา
ชนะเลิศ 5,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 3,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 2,000 บาท

ประเภท B4 ระดับประชาชนทั่วไป
ชนะเลิศ 8,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 5,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 3,000 บาท
ประเภท C วงดนตรีล้านนา (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ประเภท C1 (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ชนะเลิศ 15,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 10,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 5,000 บาท

ประเภท C2 (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ชนะเลิศ 15,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 10,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 5,000 บาท

ประเภท D วงดนตรีล้านนาร่วมสมัย (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ประเภท D (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ชนะเลิศ 15,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 10,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 5,000 บาท

ประเภท E บทประพันธ์เพลงล้านนา (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ประเภท E (Open/ไม่จำกัดอายุ)
ชนะเลิศ 15,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 1 10,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับ 2 5,000 บาท